วันเสาร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2552

กินมาก-กินดี เป็นโรคขาดอาหารได้ (3)

โรคขาดอาหารเพราะกินดีและกินมากนั้น ได้อธิบายไว้ในฉบับก่อนแล้วว่า คือ MALNUTRITION ซึ่งถ้าจะเอาความหมายกันจริงๆ แล้วก็คือ การกินผิดๆ มากกว่า เป็นการขาดอาหาร

เพราะฉะนั้น ขาดอาหารจากการกินดีอยู่ดีจึงหมายถึง การที่เราสะสม สารอาหารที่ผิด หรือไม่ได้ส่วน ไว้ในตัวเรา จนทำให้ป่วยนั่นเอง

ฉบับที่แล้วได้ทิ้งท้ายเรื่องของ คุณ ป. ซึ่งกินดี-กินมากเกินไป ว่า “แก้ยากที่สุด คือแก้นิสัยการกิน”

จะเห็นว่าในสังคมยุคใหม่ของเราขณะนี้ มีโรคอ้วนแพร่หลายมาก และเพราะโรคอ้วน แพร่หลายมากนี่แหละ จึงมีคลินิก ลดความอ้วน กันมากมาย และคลินิกเหล่านี้ ก็ทำเงิน ทำธุรกิจ กันรุ่งเรือง ดีเหลือเกิน เพราะการลดความอ้วน ด้วยการเข้าไปรักษา ตามคลินิกเหล่านี้ ต้องคิดกัน ราคาแพงๆ และแทบจะทุกแห่ง คิดเงินตามกิโลกรัม ของนํ้าหนัก ที่ลดลงได้

ถามว่า การรักษาตามคลินิกได้ผลหรือไม่ ตอบได้ทันทีครับว่าได้ผล แต่ได้ผล เพียงระยะสั้น คือเมื่อเดิน ออกจากคลินิก ปรากฏว่า นํ้าหนักลดไปหลายกิโล แต่เพียงเดือนเดียว นํ้าหนักกลับขึ้นไป เท่าเดิม และต่อมา กลับมากกว่าเดิมเสียอีก

เป็นเพราะอะไรครับ เพราะ “แก้ยากที่สุด คือแก้นิสัยการกิน” นี่เอง

ที่คุณ ป. นํ้าหนักลดลงได้เกือบ 10 กิโล แต่ชั่วเวลาสองอาทิตย์กว่าๆ นํ้าหนักขึ้นไปกว่า 10 กิโล ตามเดิมนั้น เป็นเพราะนิสัย การกินแบบเก่าๆ มันกลายเป็น นิสัยประจำตัว ไปเสียแล้ว

เคยกินเนื้อ นม ไข่ อย่างไร ก็อยากกินอย่างนั้นอยู่ตลอดไป เคยกินหวานๆ อย่างไร ก็ติดใจรสหวาน อยู่อย่างนั้น ขาดหวานไปนิดเดียว ก็ทำท่าจะเป็นลม หมดเรี่ยวหมดแรง เสียให้ได้

มันเป็นอย่างนั้นจริงๆ ครับ หากจะใช้คำพูดว่า เป็นเพราะติดนิสัยการกินแบบเก่าๆ ก็ดูออกจะเป็น กำปั้นทุบดิน มากไปหน่อย

ขออธิบายในด้านวิชาการสักนิด จะได้เข้าใจว่า ที่กลายเป็นนิสัยจนติดเข้ากระดูกดำนั้น เพราะอะไร

ขอพูดถึงเรื่องสารอาหาร หรือ NUTRIENT ตัวสำคัญที่เราเรียกว่า MACRO NUTRIENTS ซึ่งเป็น สารอาหาร ที่เป็นตัวพละกำลังสำคัญของเราเพียง 3 ตัวเสียก่อน คือ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน

พลังงานในร่างกายของคุณจะเป็นพลังงานที่ได้มาจากสารอาหาร 3 ตัวนี้ตามลำดับ คือ ขั้นต้น จากคาร์โบไฮเดรต ขั้นต่อไป จากโปรตีน และขั้นต่อไป ก็จากไขมัน

คงจะจำได้นะครับ สมัยที่มีการต่อสู้กันระหว่างอังกฤษกับผู้ก่อการร้าย IRA และมีอยู่ครั้งหนึ่ง ที่อังกฤษ จับหัวหน้า ผู้ก่อการร้ายคนหนึ่งได้ หัวหน้าคนนั้น ไม่ยอมให้การใดๆทั้งสิ้น แถมยังขู่ว่า ถ้าไม่ปล่อยตัวเขา จะสไตรก์ อดอาหารจนตาย

ในระหว่างที่เขาสไตรก์อดอาหารนั้น ต้องมีนายแพทย์เข้าไปควบคุมดูแล และเมื่อคนไข้ ปฏิเสธอาหาร และยาที่แพทย์จะให้ นายแพทย์ก็ทำอะไรไม่ได้ นอกจากจะเฝ้าดู ในระหว่างที่เฝ้าดูนั้น ก็ทำรายงาน ไปด้วย

รายงานของแพทย์ผู้นี้เกี่ยวกับการอดอาหารของคนไข้ ปรากฏว่า ขั้นตอนของอาการป่วย ที่เกิดจาก การอดอาหาร เป็นไปตามการศึกษาดั้งเดิม ที่พูดถึงพลังงานเบื้องต้น จากคาร์โบไฮเดรต พลังขั้นต่อไป จากโปรตีน และพลังงานขั้นสุดท้าย จากไขมัน

พลังงานจากคาร์โบไฮเดรตจะค่อยๆ หมดไป และคนไข้ จะอ่อนแรงไปเรื่อยๆ และเมื่อต้องใช้พลังงาน จากโปรตีน ขั้นที่สอง ก็ปรากฏว่า คนไข้หมดแรง จนแม้จะยกแขน ก็แทบไม่ไหว ซึ่งตอนนั้น ปรากฏว่า คนไข้มีเพียงแต่จะผอม เหลือแต่กระดูก เหมือนมัมมี่ ดวงตาลึกโหล เหมือนมีแต่ กะโหลกศีรษะเปล่าๆ คนไข้ไม่มีอาการตอบสนอง จากประสาทสัมผัสใดๆทั้งสิ้น ระบบต่างๆ เช่น ระบบหายใจ เริ่มจะผ่อนลงๆ และในที่สุด คนไข้ก็สิ้นลม

การศึกษาจากผลของการฆ่าตัวตาย ด้วยการอดอาหารนั้น ไม่ค่อยเป็นเรื่อง ซึ่งนิยมนำมาเป็น CASE STUDY กันมากนัก เพราะเป็นเรื่อง ซึ่งไม่น่าโสภา เอาเสียเลย

แต่ก็เป็นความจริงทางวิชาการว่า พลังงานเบื้องต้น ต้องมาจากคาร์โบไฮเดรต หรือ อาหาร พวกแป้งก่อน

กลไกของคาร์โบไฮเดรตที่เปลี่ยนเป็นนํ้าตาลกลูโคสนั้นน่าสนใจมาก ปกติแล้ว เมื่อเรากินข้าว หรือกินแป้ง เข้าไป มันจะถูกเอนไซม์ในตัวเรา เปลี่ยนจากแป้ง เป็นนํ้าตาลกลูโคส และกลูโคส ที่อยู่ในเลือดของเรา และหมุนเวียน ไปทั่วร่างกาย ของเรานี่แหละ คือพลังงาน เบื้องต้นของเรา ที่สำคัญที่สุด ก็คือ จะเป็นพลังงาน ที่ไปเลี้ยงสมองส่วนสำคัญ ที่เราเรียกว่า NEUROTRANSMITTER ฉะนั้น อาหารของสมอง ที่สำคัญ ก็คือ นํ้าตาลกลูโคสนี้เอง

ถ้าหากว่าคาร์โบไฮเดรตที่เรากินเข้าไปมีมากจนเกินไป ร่างกายของเรา ก็จะเปลี่ยนกลูโคส ให้เป็นพลังงานสำรอง ที่เรียกกันว่า GLYCOGEN และเอาไปเก็บ เป็นพลังสำรอง ไว้ที่ตับ และ เมื่อเราหมดแรงเมื่อไหร่ ตับก็จะเปลี่ยน GLYCOGEN มาเป็น GLUCOSE ให้เป็นพลังงานเบื้องต้น ต่อไปอีก

แต่ขั้นตอนสำคัญอีกอันหนึ่งของกระบวน การในร่างกายเราก็คือ ทุกอย่าง ในร่างกายเรา ต้องมีความพอดี พลังงานขั้นต้น ซึ่งคือ กลูโคสในเลือดของเรานั้น อย่าไปนึกว่า ยิ่งมีมากยิ่งดี เราจะได้มีแรงมากๆ ไม่ได้ ถ้ามีมากเกินไป เราจะมีอาการ ที่เรียกว่า ช็อกถึงตายได้

เพราะฉะนั้น เวลานํ้าตาลกลูโคสมีมากเกินไป ในเลือดของเรา ต้องมีตัวควบคุม หรือตัวห้ามทัพ ตัวควบคุมนี้ ก็คือ ฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งตับอ่อน มีหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่ดูแล และควบคุม ปริมาณ นํ้าตาลกลูโคสในเลือด พอเห็นกลูโคสสูงเกินไป ตับอ่อน ก็รีบส่งอินซูลิน ออกไปกดไว้ พอนํ้าตาล กลูโคสตํ่าลง เราก็จะรู้สึกเพลีย ก็มันจะไปหาอะไรกิน กาแฟสักถ้วย ขนมเค้กสักชิ้น

พอเรากินเข้าไป กลูโคสก็จะสูงขึ้นอีก ตับอ่อนก็ต้องส่งอินซูลินออกมาปราบอีก ตกลงสูตรง่ายๆ ก็คือ ยิ่งกินแป้ง หรือนํ้าตาล เข้าไปมากเท่าไหร่ ตับอ่อนก็ต้องทำงานหนัก มากขึ้นเท่านั้น

พอตับอ่อนส่งอินซูลินไปปราบกลูโคส เราก็รู้สึกเพลีย เราก็อยากกินคาร์โบไฮเดรต หรือ ของหวานๆ พอกินเข้าไป เราก็ชื่นใจ ถ้าไม่กิน เราก็จะเพลียอยู่อย่างนั้น

การชื่นใจหรือชอบใจนี้แหละ คือการติดแป้ง- หรือคาร์โบไฮเดรต หรือของหวาน เราจะติดมากๆ จนกลายเป็นนิสัย ไม่กินไม่ได้

นี่คือตัวอย่าง ของความสับสน ทางร่างกาย ทำให้เรารู้สึกไม่สบาย พอเรากินเข้าไปแล้ว รู้สึกสบาย ไม่กินไม่ได้

นิสัยเกิดขึ้นเพราะความไม่สบาย และสบายอย่างนี้แหละครับ เมื่อกลายเป็นนิสัยแล้ว จึงแก้ยากเย็น เหลือเกิน หรือบางที ก็แก้ไม่ได้เลย

การติดอาหารบางอย่าง โดยเฉพาะโปรตีน และไขมัน ก็เกิดในลักษณะเดียวกันกับ การติด คาร์โบไฮเดรต หรือ ของหวานๆ

จึงได้กลายเป็นนิสัย “แก้ยากที่สุด ก็คือแก้นิสัยการกิน” อย่างนี้นี่แหละ.

ไทยรัฐ ๕ พ.ค. ๔๕ ชีวจิต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น